3 วิธียอดนิยม ในการกู้ยืมเงินกันโดยใช้ที่ดินหรือโฉนดที่ดินเป็นหลักประกัน
- การขายฝาก ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่ผู้ให้กู้ได้เปรียบที่สุด เพราะกรรมสิทธิ์ในที่ดินจะตกเป็นของผู้ให้กู้ (ผู้รับซื้อฝาก) ทันที
ผู้กู้(ผู้ขายฝาก) มีสิทธิเพียงมาไถ่ถอนทรัพย์สินคืนภายในกำหนดเท่านั้น ถ้าไม่ไถ่ถอนคืนภายในกำหนดก็หมดสิทธิในที่ดิน
ที่ดินย่อมกลายเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ให้กู้อย่างเด็ดขาด แต่อย่างไรก็ดีวิธีการนี้จะต้องเสียค่าธรรมเนียมให้กรมที่ดินเป็นจำนวนมากกว่าวิธีอื่น - การจำนอง วิธีนี้ก็เป็นอีกวิธีที่นิยมกัน โดยการจำนองนั้นกรรมสิทธิ์ในที่ดินยังคงอยู่ที่ผู้กู้ (ผู้จำนอง) โดยผู้ให้กู้ (ผู้รับจำนอง)
จะมีที่ดินเป็นหลักประกันให้อุ่นใจ หากผู้กู้ยืมผิดนัด ผู้ให้กู้ก็มีสิทธิฟ้องบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินที่จำนองได้
อีกทั้งผู้จำนองยังมีฐานะเป็นเจ้าหนี้บุริมสิทธิในที่ดินที่จำนอง มีสิทธิเหนือเจ้าหนี้คนอื่นๆในที่ดินแปลงที่ผู้กู้จำนองไว้
แต่วิธีการนี้ก็มีข้อเสียก็คือต้องเสียเวลาในการยื่นฟ้องคดีเป็นเวลานานกว่าจะบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินที่จำนองได้ - การกู้ยืมเงินโดยผู้กู้ส่งมอบโฉนดที่ดินให้ผู้ให้กู้ยึดถือไว้ โดยวิธีการนี้เป็นวิธีการแบบที่ชาวบ้านนิยมทำ
ซึ่งกฎหมายมิได้เขียนรองรับไว้ โดยข้อเสียของวิธีการนี้มีหลายประการเช่น
ผู้กู้สามารถไปแจ้งว่าโฉนดที่ดินหายแล้วก็ไปขอออกโฉนดใหม่ต่อกรมที่ดิน จากนั้นก็ไปนำโฉนดฉบับใหม่ไปขาย
โดยที่ผู้ให้กู้ไม่มีโอกาสรู้ และหากผู้กู้ผิดนัด ผู้ให้กู้ก็จะต้องฟ้องคดีซึ่งจะต้องใช้เวลานาน
และในการส่งมอบโฉนดที่ดินเช่นนี้ผู้ให้กู้จะไม่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิเหนือที่ดินเหมือนเจ้าหนี้จำนอง
คงมีสิทธิเท่าๆกับเจ้าหนี้คนอื่นๆเท่านั้น อีกทั้ง เจ้าหนี้คนอื่นๆของลูกหนี้อาจมายึดไปชำระหนี้ได้
โดยผู้ให้กู้ไม่มีสิทธิมาโต้แย้งคัดค้าน เพียงแต่จะมีสิทธิยึดหน่วงโฉนดที่ดินไว้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้เท่านั้น