บทความ

การเลี้ยงปลาด้วยฟางข้าว เทคนิคดี ๆ ทำให้ปลาโตเร็ว สมบูรณ์ ขายได้ราคาดี

การทำฟางหรือหญ้าหมัก เพื่อเป็นอาหารการเลี้ยงปลา ช่วยลดต้นทุนได้ วัสดุในประเทศไทยที่ไม่ได้เอามาใช้ประโยชน์ ทั้งๆที่มีประโยชน์ แต่กลับถูกทิ้งอย่างไร้คุณค่ามีอยู่ 2 อย่างคือ ฟางข้าว และน้ำมะพร้าว ทั้งสองอย่างนี้มีปริมาณมหาศาลในแต่ละปี แต่กลับไร้คุณค่าในเรื่อของการนำฟางข้าวมาเลี้ยงปลา ความคิดนี้เป็นของคุณมงคล ทวีสิน เกษตรกร ต.ตะกุดไช อ. ชนแดน จ. เพชรบูรณ์ ที่เป็นผู้ค้นพบการเลี้ยงปลาด้วยฟางข้าวเป็นอาหารโดยบังเอิญกล่าวคือ คุณ มงคล ทวีสิน เคยเลี้ยงปลาด้วยอาหารสำเร็จรูปที่ขายอยู่ตามท้องตลาด แต่ไม่สำเร็จ ประสบกับการขาดทุนจึงยกเลิกและนำฟางข้าวมาถมบ่อเพื่อที่จะกลบบ่อ ปรากฏว่าเห็นปลาที่เหลืออยู่มากินฟางข้าวที่จมอยู่ในน้ำ ฟางข้าวก็หมดไป น้ำในบ่อก็ไม่เน่าเสีย

เมื่อลองจับปลามาสังเกตดูก็เห็นว่าปลามีสภาพอ้วนท้วนสมบูรณ์ดี จึงเกิดความคิดที่ว่า ฟางข้าวน่าจะนำมาเลี้ยงปลาได้ อย่างแน่นอนเพื่อที่จะลงมือทำอย่างจริงจัง คุณ มงคล ทวีสิน ได้ลงมือทำการพิสูจน์อย่างจริงจังโดยปล่อยลูกปลาสวาย ปลาทับทิม ปลาสลิด ปลาดุกอุ้ย ลงในบ่อปลา โดยปลาที่ปล่อยนั้นเป็นปลากินพืชทั้งหมด แล้วใช้กองฟางสุม เมื่อเวลาผ่านไป 1 ปีก็ทดลองจับปลาออกขายปรากฏว่าได้ปลาขนาดใหญ่ตามที่ตลาดต้องการ ปลาสวายขนาดเกือบ 2 กิโลกรัม ปลาทับทิมตัวละ 3-4 ขีด ปลาดุกอุ้ย 3-4 ตัวต่อ 1 กิโลกรัม ปลาสลิดก็มีขนาดใหญ่ นี่คือที่มาของความคิดที่ใช้ฟางข้าวเลี้ยงปลา ซึ่งเป็นเทคโนโลยีธรรมชาติที่ไม่เคยมีใครทราบมาก่อนการค้นพบครั้งนี้ถือว่ามีคุณค่าต่อเกษตรกรอย่างมหาศาล ขอให้เกษตรกรที่นำวิธีการเลี้ยงปลาด้วยฟางข้าวไปใช้ จงระลึกถึงเจ้าของความคิด และช่วยกันแพร่หลักคิดนี้ให้กว้างไกลออกไปจะได้เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรไทย

โดยรวมในภาวะปัจจุบันปลาน้ำจืดจากแหล่งน้ำธรรมชาติมีน้อยลง ไม่เพียงพอต่อการบริโภค ไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด เกษตรกรส่วนหนึ่งได้หันมาเลี้ยงปลาน้ำจืดจำหน่าย แต่ก็ต้องประสบสภาวะขาดทุน หรือไม่ก็ได้กำไรน้อย ไม่คุ้มค่ากับการลงทุนเนื่องจากอาหารสำเร็จรูปมีราคาแพง การเลี้ยงปลาในแนวธรรมชาติแม้จะใช้เวลานานกว่าการเลี้ยงด้วยอาหารสำเร็จรูป แต่คุณภาพของปลาเหมือนกับปลาที่ได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติ จึง ขายได้ในราคาสูง ประกอบกับต้นทุนน้อย จึงประกันได้ว่าคำว่าขาดทุนหรือกำไรน้อยไม่มีอย่างแน่นอนอยากมีรายได้มากๆก็ให้เพิ่มจำนวนบ่อมากขึ้น และขยันหาฟางข้างให้เพียงพอต่อการฤดูการเลี้ยงปลาและฤดูการเก็บเกี่ยวการเลี้ยงปลาด้วยฟางข้าว จะใช้บ่อเก่าหรือขุดใหม่ก็แล้วแต่ ความลึกของบ่อควรจะเป็น 2 เมตร เป็นอย่างน้อย ขนาดของบ่ออาจจะเป็น 1 ไร่ หรือ 2-3 งาน เมื่อนำน้ำใส่ในบ่อแล้ว ให้หามูลโค-กระบือ ใส่ไว้เพื่อเพาะลูกไร ก็จะเกิดลูกไรและแมลงตัวเล็กๆ ซึ่งจะได้เป็นอาหารของปลากินเนื้อต่อไป

การ เลี้ยงปลาด้วยฟางข้าวปล่อยลูกปลากินพืช เช่น ปลาสวาย ปลานิล ปลาทับทิม ปลาสลิด และลูกปลากินเนื้อ เช่น ปลาหมอ ปลาดุกอุ้ย ในพื้นที่บ่อ 1ไร่ ปล่อยลูกปลาจำนวน 10,000 ตัว ปลากินพืชจะกินฟางข้าว ส่วนปลากินเนื้อจะกินลูกไรและแมลงที่เกิดจากฟางข้าว ปลาทั้งสองประเภทจะไม่ทำลายซึ่งกันและกัน ยกเว้นปลาช่อนการให้ฟางข้าวเกษตรกรจะต้องกองฟางข้าวไว้ที่ริมบ่อ ส่วนหนึ่งให้จมน้ำ ควรวางฟางข้าวไว้ใต้ลม เพื่อให้ได้รับอากาศจากลมพัด และฟางจะได้ไม่กระจายไปทั่วบ่อ เมื่อฟางข้าวใยบ่อยุบตัวลงก็ดันฟางข้าวที่ขอบบ่อลงไป ปลาก็จะมากินฟางข้าวที่เน่าเปื่อย ปลาสวาย ปลาสลิด ก็จะมากินฟางข้าวโดยตรง ส่วนปลาทับทิมจะกิน หนอน แมลง และ ลูกไรที่เกิดจากการหมักของฟางข้าวการเลี้ยงปลาโดยวิธีนี้ไม่ต้องให้อาหารอื่นใดเลยนอกจากฟางข้าวเพียงอย่าง เดียว เกษตรกรจะต้องกำหนดให้เวลา 1 ปี หมดฟางข้าวพอดี ก็จะเหลือแต่ฟางข้าวที่เป็นตอซังแข็งๆ เท่านั้นที่เหลืออยู่ที่ริมบ่อ การจับปลาจะต้องดูว่าช่วงใดราคาแพง ให้เลือกจับในช่วงนั้น หากช่วงใดราคาไม่ดี เราก็ขยายเวลาออกไปก่อน เพราะไม่มีต้นทุนอาหาร ยิ่งนานออกไปปลาก็ยิ่งโต ปลาก็ยิ่งได้ราคาการเจริญเติบโตในระยะเวลา 1 ปี การเติบโตของปลาเฉลี่ยแล้วปลาสวายตัวละ 2กิโลกรัม ปลาทับทิม ตัวละ 3-4 ตัวต่อกิโลกรัม ปลาหมอ ขนาด 5-6 กิโลกรัม

คุณภาพ ของปลาเหมือนกับปลาที่จับมาจากแหล่งน้ำธรรมชาติ เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ปลาไม่ผอม ไม่มีกลิ่น การคำนวณรายได้ต่อบ่อ ต่อไร่ คำนวณอยาก เนื่องจากขึ้นอยู่กับจำนวนอัตราการรอดของลูกปลาเป็นสำคัญ หากได้น้ำหนักโดยรวมประมาณ1 ตัน ต่อพื้นที่บ่อ 1 ไร่ ซึ่งเป็นอัตราขั้นต่ำก็มีรายได้แล้วไม่น้อยกว่า 60,000 บาทและ ที่สำคัญที่คันบ่ออย่าปล่อยให้ว่าง ควรหาพืชยืนต้นมาปลูก จะเป็นมะพร้าวตาล หรือ มะพร้าวน้ำหอม ชมพู่ทับทิมจันทร์ ฝรั่ง ส้มโอ พืชสวนครัว หรือพืชเก็บยอดก็ดี เพื่อสร้างรายได้รายวันรายได้รายเดือน ส่วนปลาก็เป็นรายได้รายปี คิดแบบนี้ ทำแบบนี้ ครอบครัวมีอนาคตครับ หลักคิดนั้นสำคัญครับ ท่านที่อ่านแล้วนำไปปฏิบัติลงมือทำ ในการทำครั้งต่อไป หรือ คิดที่จะปลูกสิ่งใดๆต่อไป ท่านควรคิดเพื่อสร้างหลักคิดเป็นของตัวเอง คิดให้ดี ก้าวหน้า และลงมือทำครับวิธีการทำฟางหรือหญ้าหมัก1. สำหรับอนุบาลลูกปลาเช่น ปลานิล ปลาทับทิม ปลาสลิดเป็นต้น หลังจากตากบ่อและโรยปูนขาวแล้วนาฟางข้าว หญ้าสดหรือแห้งใส่ร่วมกับปุ๋ยมูลสัตว์ชนิดต่างๆ อัตรา 100-120 กก.ต่อไร่ต่อเดือนของมูลสัตว์แห้ง (มูลไก่หรือมูลวัว) และฟางแห้งต่อปุ๋ยมูลสัตว์เท่ากับ 1:1 (หากใช้หญ้าสดควรใส่ปูนขาวเล็กน้อย)

ทำการใส่ฟางแห้งสลับกับมูลสัตว์เป็นชั้นๆที่มุมบ่อ 4 ด้านหรือเป็นกองๆรอบบ่อและใส่น้าลึก 20 ซม. ทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วันหรือเมื่อสีน้ำเปลี่ยนเป็นสีชาจึงเพิ่มระดับน้าเป็น 50-60 ซม. หลังจากนี้ประมาณ 3-5 วัน จึงนำลูกปลามาปล่อย2. สำหรับปลาวัยรุ่นหรือปลาขุน ในช่วงระหว่างการเลี้ยงปลาให้ใส่ปุ๋ยและฟางหมักเดือนละครั้งในปริมาณ 100-120 กก.ต่อไร่ การทำวิธีนี้จะช่วยให้มีอาหารธรรมชาติในบ่อเพียงพอ

ดังนั้น การให้อาหารอาจให้สมทบวันเว้นวันได้ซึ่งเหมาะกับการเลี้ยงปลาเบญจพรรณ ได้แก่ ปลาตะเพียน ปลานิล ปลาจีน ปลาสวาย เป็นต้น

ที่มา: http://sopprap.lampang.doae.go.th

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *